วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ญี่ปุ่น ประเทศนี้สำหรับคนรัก "ขนมหวาน"


ในสวนสนุกนัมจาทาวน์ ซึ่งเป็นสวนสนุกในร่ม ประกอบด้วยโซนน่าสนใจหลายโซน และหนึ่งในนั้นก็คือโซน Ice cream City ซึ่งรวมร้ายขายไอศกรีมไว้ทั้งหมด 6 ร้าน!!!

 
      Ice cream City ไม่ใช่โซนไอศกรีมธรรมดานะคะ เพราะช่องสารคดีชื่อดังอย่าง National Geographic เคยยกย่องให้ Ice cream City ไอศกรีมแห่งนี้ เป็น 1 ใน 10 ร้านไอศกรีมที่เจ๋งที่สุดของโลก!!
 
      ที่สำคัญที่ Ice cream City แห่งนี้ มีไอศกรีมรสแปลกๆ เพียบ รวมแล้วเป็นร้อยรส ใครที่เบื่อพวกช็อกโกแล็ตหรือวนิลาแล้ว ขอบอกว่าถูกใจแน่ๆ เพราะมีทั้งรสกระเทียม รสปู รสมิโซะ รสแกงกะหรี่ รสหูฉลาม รสถ่านไม้ (สาบานว่านี่คือรสชาติไอศกรีม = =)

 
      ใครอยากแวะไปชิมไอศกรีมที่นี่ ก็อย่าลืมลองไปที่สวนสนุกนัมจาทาวน์นะคะ ค่าเข้า 300 เยน (100 กว่าบาท) แต่คาดว่าน่าจะหมดค่าไอศกรีมเป็นพันแน่ๆ เลย 5555 อ้อ ขอบอกก่อนว่าในสวนสนุกนัมจาทาวน์นอกจากจะมีโซนไอศกรีมแบบนี้แล้ว ยังมีร้านอาหารอร่อยๆ อีกเพียบ ดังนั้นถ้าใครตั้งใจจะไปชิมไอศกรีม ก็อย่าเพิ่งซัดของคาวเยอะนะคะ เดี๋ยวจะอิ่มเกิน^^






   
      ร้าน Nico เป็นร้านโดนัทที่ดูไม่ใช่สไตล์ญี่ปุ่นเท่าไหร่ ออกแนวฝรั่งเศสด้วยซ้ำ เพราะหน้าร้านมีประโยคภาษาฝรั่งเศสเขียนว่า "Nous vous proposons un moment de détente. Avec des beignets, savourez un instant de Bonheur" หรือแปลได้ว่า เราขอแนะนำให้คุณใช้เวลาซักนาทีเพื่อพักผ่อนด้วยโดนัท กับช่วงเวลาที่สุดแสนจะมีความสุข 

   
      โดนัทในร้านนี้มีหลายรส เช่น เอสเพรสโซ่ โกโก้ ถั่ว งา(ขายดีที่สุด) นอกจากนี้ยังมีรสแปลกๆ ที่ไม่ซ้ำใคร เช่น รสชีส รสโหระพา-มะเขือเทศ .... เอิ่มมม รสชาติจะออกมาเป็นยังไงนะ??
     
       สำหรับราคาโดนัทอยู่ที่ประมาณ 200-500 เยนคือ คิดเป็นเงินไทยบางชิ้นก็ร้อยกว่าบาทเลยอะ!! แอบแพง แต่ถ้าอร่อยจริงก็ยอมจ่าย(มั้ง)!! ใครผ่านไปแถวชิบูย่าก็อย่าลืมมองหาร้านโดนัทสุดเจ๋งร้านนี้นะคะ







 

 


   
      Papabubble เป็นร้านขนมจำพวกท็อฟฟี่หรือลูกกวาดทำมือค่ะ คือจะมีคนทำมายืนปั้นให้เราเห็นกรรมวิธีเลยว่าเค้าทำกันยังไงบ้างจนเสร็จมาวางขาย ซึ่งก็ทำออกมาเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปผลไม้ รูปการ์ตูน หรือบางทีก็ทำเป็นคำเช่น love , thank you และลูกค้าจะซื้อแบบใส่ถุงหรือใส่โหลกลับบ้านก็ได้



 
      จริงๆ แล้ว ร้าน Papabubble มีถิ่นกำเนิดในเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน แต่ตอนนี้ก็แพร่หลายไปทั่วโลกเลยล่ะค่ะ มีหลายสาขารวมถึงย่านชิบูย่า กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นด้วย พี่เป้ ว่ามันน่ารักมากเลยนะ ยิ่งคนญี่ปุ่นชอบทำอะไรคิกขุน่ารัก ก็ยิ่งทำออกมาแล้วดูน่ารักมากกกก แต่ถ้ามีคนซื้อให้คงกินไม่ลงอะ เพราะมันน่ารักเกินไป
 
      ส่วนสาขาอื่นๆ นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ยังมีที่สเปน เกาหลี ไต้หวัน บราซิล โปรตุเกส ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และอเมริกาด้วยล่ะค่ะ




พ่อค้าแซบ!!



อาหารไทย ชนิดที่ต่างชาติอึ้ง! ทึ่ง! เสียว !!


ไม่ ใช่ว่าอาหารไทยแต่ละชนิดที่โด่งดังไปไกลทั่วโลก กับรสชาติที่อร่อยขั้นเทพ แต่ความจริงแล้ว อาหารไทยยังมีอีกหลายเมนูที่ยังไม่คุ้นหูคุ้นตาดีเลยสำหรับชาวต่างชาติ และคนไทยบางคนเองยังไม่เคยลิ้มรสหรือเห็นสภาพแล้วแทบจะสำลักเลยก็มี
                   ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะรู้สึกประหลาดใจ แต่ว่าขึ้นชื่อว่า "อาหาร" ที่มนุษย์สามารถสรรหานำมาบริโภคได้ เราก็ต้องยอมจำนนต่ออาหารเหล่านั้น ต่อไปนี้จะเป็นอาหารไทย 13 อันดับที่ชาวต่างชาติรู้สึกอึ้ง ทึ่ง เสียวมากที่สุด
1. กุ้งเต้น
                
               เป็นเมนูที่จัดอยู่ใน "อาหารดิบ" ต่างชาติคิดว่า แค่เอามันจิ้มกับซอสปรุงรสแล้วกินมันเข้าไปทั้งๆแบบนั้น คิดเสียว่ากำลังกินเมนูที่พิศดารมหาโหดสักครั้งหนึ่งแก่ชีวิตก็แล้วกัน ถ้ายังไม่ตายเสียก่อน 555+
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) กัดฟันทำใจกินเข้าไปแล้ว รู้สึกว่ามันก็อร่อยดีเหมือนกัน ตอนเคี้ยวจะได้รสชาติของกุ้งสดแบบธรรมชาติไปเต็มๆ กรุบๆ กรอบๆ ในปากก็ไม่เลว
2. ลาบเลือด
                     
                      โดยพื้นฐานของเมนูนี้ คือเอาเนื้อหมูหรือเนื้อวัวดิบที่สับละเอียด ไปผสมผสานกับผักนาๆชนิด เช่น สาระแน่ ข้าวคั่ว ฯลฯ เป็นต้น แต่กระนั้นเนื้อวัวหรือเนื้อหมูสดๆไม่แดงจัดได้ใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องเติมเลือดสดเพื่อเพิ่มสีสัน หรือรสชาติตามแบบฉบับลาบดิบของชาวอีสาน
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ)  ชาวต่างชาติคิดว่า กินลาบเลือดนี้ควบคู่กับเหล้าหรือเบียร์ มันลงตัวชัดเจนมาก สวรรค์ดีๆนี่เอง
3. ส้มตำหอยดอง
                   
                      เอ่อ...เมนูนี้ จะว่าไปต่างชาติเองก็รู้จักและก็ชอบกันมิใช่น้อย แต่ถ้าเป็นส้มตำไทย ส้มตำปู หรือแม้กระทั่งส้มตำปูปลาร้า มันก็ไม่ใช่ปัญหา คนไทยและต่างชาติรับได้อยู่แล้ว แต่ส้มตำเมนูนี้ คือตำหอยดอง ต่างชาติเกรงกลัวมากที่สุดคือ ถ้าจะกิน คุณมั่นใจได้แค่ไหนว่าท้องจะไม่เสียซะก่อน
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) เมนู ที่ต้องใช้หอยดองมาทำเป็นเมนูที่ผิดเพี้ยงไปจากส้มตำชนิดอื่นๆ คนที่คิดเมนูนี้ได้ เขามีกระจิตกระใจทำให้เป็นเมนูอาหารที่สามารถกินได้ แสดงว่าเขาเคยลองผิดลองถูกมาแล้ว เพราะฉะนั้น เขาทำออกมากินได้ แล้วทำไมเราคนอื่นๆจะกินไม่ได้ ใช่ป่ะล่ะ

4. กุ้ง (ดิบ) แช่น้ำปลา
                     
                  เป็นเมนูที่ประกอบไปด้วยกลิ่นสาปคาวอ่อนๆของกุ้ง บวกกับอาวุธลับที่คนไทยช๊อบชอบ แต่สำหรับต่างชาติกลับยี้มากเลย นั้นก็คือ "น้ำปลา" มันเป็นเมนูชวนสยองดีๆนี่เอง แถมต่างชาติยังกลัวเมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกเปลือกของกุ้งตำเหงือกเอาซะอีก

(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ)  รสชาติเค็มๆ คาวๆ เผ็ดๆ นุ่มๆ ในระหว่างที่คุณกินเมนูนี้โดยไม่คิดถึงภาพลักษณ์สยองๆที่เกริ่นมา คุณอาจจะหลงรักและชอบเมนูนี้เข้าก็ได้

5. ลาบ (ไข่) มดแดง
                   
                      เมนูนี้เป็นเมนูมหาเทพสำหรับคนไทย โดยเฉพาะชาวอีสาน ทำนองที่ว่านอกจากจะหากินได้ยากแล้ว ยังแปลกประหลาดมากสำหรับชาวต่างชาติ
                      ชาวต่างชาติคิดว่า ถ้าให้คนตาบอดกินเมนูนี้เข้าไป แล้วไม่บอกว่าทำจากอะไร เขาจะบอกว่ามันอร่อยสุดยอดมากกกกกก แต่เมื่อเอ่ยมาเมื่อไร เขาจะสำลักอ้วกต่อหน้าคุณก็เป็นได้ 555+
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) มด แดงจะกินใบมะม่วงเป็นอาหาร เพราะฉะนั้นในตัวมดจะมีรสเปรี้ยวๆปะแลมๆอยู่ เมื่อนำมาผสมกับไข่มดแดงแล้ว มันก็ไม่แตกต่างอะไรกับการกินไข่ปลาคาร์เวียรราดซอสเปรี้ยว

6. ยำไข่เยี่ยวม้า
                       
                     ไข่เยี่ยวม้าอันมีกลิ่นเกินคำบรรยาย ที่ถูกหมักดองจนเหม็นมากกกกสำหรับชาวต่างชาติเมื่อได้ชิมรสกับเมนูนี้ นอกเสียจากว่าคนๆนั้นมันสามารถยอมรับกับกลิ่นของมัน ต่างชาติบอกว่า เมื่อกินเมนูนี้เข้าไปแล้ว ในปากจะคงกลิ่นไว้เหมือนหนูตายซากทั้งตัว ราวกับว่าคุณไม่ทันระวังเก็บเอาอาหารที่เน่าเสียแล้วไปกินแบบไม่ทันตั้งตัว
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) ยำ ไข่เยียวม้าเป็นไข่ที่ถูกดองกับเคมีไว้นานๆเท่านั้น มันก็เหมือนเป็นไข่ที่ถูกพัฒนาจากไข่เค็มเป็นอีกหนึ่งเจเนอเรชั่น ถ้าคุณชอบรสชาติที่เหนือว่ายำไข่เค็ม เมนูนี้ตอบสนองคุณได้

7. ไข่ปิ้ง
                   
                 ดูเผินๆก็เหมือนไข่ธรรมดาๆ แต่พอปอกเปลือกกินเข้าไปเท่านั้นแหล่ะ มันสุดจะบรรยายเหมือนกัน เหมือนกินไปพลางแล้วเสนียดไปพลาง
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) มัน ก็ไม่แตกต่างอะไรจากไข่ลวกธรรมดาเท่าไรนัก เพียงแต่รสชาติมันออกจะเพี้ยนๆไปนิดหน่อยเท่านั้นเอง ถ้าคนที่ชอบจริงๆ เขาก็บอกว่ามันก็อร่อยเหมือนกัน

8. ผัดสะตอ
                 
                        ชื่อฟังดูน่าทานมาก (สำหรับชาวต่างชาติ) แต่พอได้กินแล้ว อยากจะชักแม่น้ำทั้งโลกมาล้างปากกับความเหม็นมหาโหดของเจ้าสะตอนี้จริงๆ กลิ่นมันเป็นส่วนผสมระหว่างเต้าหู้เหม็นเน่ากับกลิ่นตดดีๆนี่เอง
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) เชื่อ ไม่เชื่ออยู่ที่คุณแล้ว เจ้าสะตอถึงมันจะเหม็น นั้นมันเป็นแค่ภายนอก แต่ความจริงแล้ว มันเป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลักหลายชนิด และยังเป็นสมุนไพรอ่อนๆของชาวใต้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่ามองแค่ภายนอก (กลิ่น) รีบไปหามากินซะ แล้วจะรู้ว่า "หร่อยจังฮู้" สะกดยังไง

9. ปากเป็ดทอด
               
                     เมนูนี้ เน้นเป็นชาวต่างชาติที่เป็นฝรั่งหรือชาวตะวันตกก็แล้วกันนะครับ เพราะชาวเอเชียส่วนใหญ่เขาก็บริโภคเป็ดเหมือนกัน แต่ฝรั่งผมทองกลับตรงกันข้าม เขาไม่ค่อยกินเป็ด เพราะฉะนั้นเลยเป็นเมนูที่พวกเขาทึ่งไม่เคยเจอมาก่อน 
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) ปาก เป็ดที่ถูกทอดมาจนกรอบแทบไม่ต้องเคี้ยวหนักๆให้เหนื่อยฟัน กับรสชาติที่หมักกับน้ำซอสหรือน้ำจิ้มหวานๆ มันก็พร้อมจะละลายในปากเมื่อได้รับประทานเข้าไปแล้ว

10. แมลงทอด
                     
                   เมืองไทยถ้าพูดถึงอาหารที่พิศดารอันดับแรกๆที่ชาวต่างชาติสามารถจินตนาการ ออกมาได้ นั้นก็คือ "แมลงทอด" ที่วางขายตามถนนทั่วฟ้าเมืองไทยนั่นแหล่ะ ไม่ว่าจะเป็น ตั๊กแตน จั๊กจั่น รถด่วน หนอนไม้ไผ่ สารพัด แมลงที่กินได้นำมา
ทอดจนเหลืองกรอบ กลายเป็นเมนูชวนเปิบพิศดาร ที่ฝรั่งเห็นยังกล้าๆกลัวๆ
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ)  ไม่ ต้องพูดอะไรมาก ขอแค่เบียร์แก้วหนึ่ง กับกับแกล้มที่เปลี่ยนจากธัญพืชต่างๆมาเป็นเจ้าแมลงทอดพวกนี้ โอ้ออออ น้ำลายหย๋าย เอ๊ย ไหล 555+

11. ตีนไก่
                   
                     ตีนไก่เป็นเครื่องปรุงที่ใช้ประกอบเมนูอาหารไทยหลายชนิด ถ้าตัดเป็นชิ้นๆพอคำ ฝรั่งพอทน แต่มาเป็นตีนไก่อันๆแบบนี้ ก็เหลือทน เราต้องทรมานแค่ไหนที่จะต้องกลืนมันเข้าไปทั้งๆที่......
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) ถ้า คุณได้กินตีนไก่ แสดงว่าคุณส่อหาอาหารไทยแปลกๆกินได้แล้วหนึ่งเมนู ก็เหมือนกับถูกรางวัลเลขท้าย รางวัลนั้นก็คือรสชาติอันกลมกล่อมของตีนไก่ อร่อยนะ

12. ทุเรียน
                       
                           อย่าว่าแต่ชาวต่างชาติเลย คนไทยบางคนยังต้องยอมแพ้กับกลิ่นของมัน ถึงแม้จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งผลไม้" ก็ตาม ถ้าคุณเอามันไปล้อกับคนที่ไม่ชอบทุเรียนจริงๆ เขาก็โกธรคุณได้
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) คุณ น่าจะรู้ เปลือกทุเรียนแข็งมาก ถึงคุณจะไม่ชอบ ถ้าคุณปอกเปลือกมันได้ มันก็เปรียบเสมือนกับว่าคุณลำบากมากกับการขึ้นภูเขาทั้งลูกได้แล้วเจอวิว สวยๆ ซึ่งไม่ผิดหวัง มันคุ้มนะที่จะลิ้มลองรสชาติหวานๆมันๆจากมันข้างใน

13. หมกฮวก
                       
                         เจ้าลูกอ๊อดตัวเป็นๆที่ถูกแช่กับน้ำปลา แล้วผสมผสานกับสมุนไพรพืชผักอื่นๆ หมกด้วยใบตองแล้วนึ่งออกมาเป็นอาหาร ที่เกินมนุษย์จะเรียกว่าเป็นอาหารทานได้ ชาวต่างชาติก่อนจะกิน เขาต้องทำใจสักกี่ครั้งกันแน่
(สาเหตุที่บางคนชื่นชอบ) โปรตีน คนขาดสารอาหาร ไม่ต้องคิดมาก เมนูนี้แหล่ะ เสริมสร้างสารอาหารที่สึกหร่อคุณได้ ความจริงอาหารแปลกๆ คุณก็น่าจะลิ้มลองนะ เพราะถึงมันจะแปลก แต่ให้คำนึงถึงสารอาหารบ้างก็ดี 

หนังสืน่าอ่าน (เชอร์ล็อก โฮล์มส์)


เชอร์ล็อก โฮล์มส์

เชอร์ล็อก โฮลมส์ (อังกฤษSherlock Holmes) เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยนักเขียนและนายแพทย์ชาวสก็อต คือ เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดีต่างๆ
โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องเชอร์ล็อก โฮลมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 54 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮลมส์ คือ ดร. จอห์น เอช. วัตสัน หรือหมอวัตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮลมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี ค.ศ. 1887 และLippincott's Monthly Magazine ในปี ค.ศ. 1890 แต่หลังจากที่ชุดเรื่องสั้นลงพิมพ์เป็นคอลัมน์ประจำใน นิตยสารแสตรนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1891 นิยายเรื่องนี้ก็โด่งดังเป็นพลุ เหตุการณ์ในนิยายอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1878 ถึง ค.ศ. 1903 และคดีสุดท้ายเกิดในปี ค.ศ. 1914
เมื่อถูกถามว่า เชอร์ล็อก โฮลมส์มีตัวตนจริงหรือไม่ โคนัน ดอยล์ มักตอบว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างเชอร์ล็อก โฮลมส์ มาจากนายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ผู้ซึ่งดอยล์เคยทำงานด้วยที่โรงพยาบาลเอดินเบิร์กรอยัล นายแพทย์เบลล์มีความสามารถในการหาข้อสรุปจากความสามารถในการสังเกตรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นเดียวกับเชอร์ล็อก โฮลมส์ นอกจากนี้นายแพทย์เบลล์ยังมีความสนใจในอาชญากรรมและเคยช่วยเหลือตำรวจในการคลี่คลายคดีต่างๆ ด้วย
ความโด่งดังของเชอร์ล็อก โฮลมส์ ทำให้ผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่าเขามีตัวตนจริงและพากันเขียนจดหมายไปหา มีพิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตั้งขึ้นในตำแหน่งที่น่าจะเป็นบ้านในนวนิยายของเขาในกรุงลอนดอน นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นสำหรับตัวละครในนิยาย เรื่องราวของเชอร์ล็อก โฮลมส์ มีการนำไปดัดแปลงและแต่งเพิ่มเติมขึ้นใหม่อีกโดยนักเขียนคนอื่น ทั้งที่เขียนร่วมกับทายาทของโคนัน ดอยล์ และเขียนขึ้นใหม่เป็นเอกเทศ บทประพันธ์ของโคนัน ดอยล์ และนวนิยายที่แต่งขึ้นใหม่ ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ละครวิทยุ และสื่ออื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน จนกระทั่งเชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้รับการบันทึกจากกินเนสส์บุ๊คว่าเป็น "ตัวละครที่มีผู้แสดงมากที่สุด" ภาพลักษณ์ของโฮลมส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของนักสืบ และส่งอิทธิพลต่อวรรณกรรมและการแสดงในประเภทรหัสคดีจำนวนมาก

ประวัติ

โคนัน ดอยล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มาจากนายแพทย์ผู้หนึ่ง คือ นายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่ โรงพยาบาลเอดินเบิร์กรอยัล นายแพทย์อาวุโสสามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันทีเพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวได้มากมายจากข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์ ทึ่งมาก นายแพทย์เบลล์ยังเคยช่วยเหลือการสืบสวนคดีของตำรวจบางคดีอีกด้วย
เมื่อโคนัน ดอยล์ เรียนจบและออกไปประกอบอาชีพ เขาเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับนิตยสาร เนื่องจากการงานอาชีพแพทย์ไม่ค่อยสร้างรายได้ดีนัก เขาใช้เวลาว่างระหว่างรอคนไข้เริ่มเขียนนวนิยาย โดยใช้นายแพทย์เบลล์ อาจารย์ของเขาเองเป็นต้นแบบในการสร้างตัวละครเอก คือ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ แล้วสร้างตัวละครรองเป็นนายแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกันกับวิชาชีพของเขา และเรื่องแรกที่โคนัน ดอยล์ เขียนคือ แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) ได้พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ Beeton's Christmas Annual 1887 ปี ค.ศ. 1887 หลังจากที่ถูกปฏิเสธอยู่หลายครั้งหลายหน หลังจากนั้น โคนัน ดอยล์ จึงทยอยเขียนเรื่องสั้นเกี่ยวกับนักสืบโฮล์มส์และเพื่อนนายแพทย์ของเขา ผลตอบรับจากการเขียนนวนิยายนักสืบชุดนี้ดีจนคาดไม่ถึง และโคนัน ดอยล์ ต้องแต่งเรื่องส่งให้สำนักพิมพ์อยู่เรื่อยๆ จนเป็นที่ยอมรับ

[แก้]โครงเรื่อง

เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตอนแรกที่ลงตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual คือตอน แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) โดยบทแรกเล่าถึงการพบกันครั้งแรกระหว่างโฮลมส์กับวัตสัน ทั้งสองมาเช่าห้องพักร่วมกันที่บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1881 แต่เนื้อเรื่องใน แรงพยาบาท เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884
เวลานั้นโฮลมส์เป็นนักสืบอยู่แล้ว ส่วนหมอวัตสันเพียงต้องการพักผ่อนหลังจากเกษียนตัวเองจากสงครามอัฟกานิสถาน ในช่วงแรกหมอวัตสันรู้สึกว่าโฮลมส์ช่างเป็นคนแปลกประหลาด แต่ต่อมาเมื่อคุ้นเคยขึ้น วัตสันจึงเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของสิ่งที่โฮลมส์ทำ นับแต่นั้นหมอวัตสันได้ร่วมในการสืบสวนคดีของโฮลมส์หลายต่อหลายครั้ง และเขียนเป็นบันทึกเก็บไว้อ่าน เนื้อเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่โคนัน ดอยล์ ประพันธ์นั้น สมมุติขึ้นว่าเป็นการเล่าเรื่องจากสมุดบันทึกของหมอวัตสัน ซึ่งเขาส่งให้หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์บ้างบางตอน เพราะต้องการเผยแพร่กิตติคุณความสามารถของโฮลมส์ให้โลกรู้
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1888 ระหว่างการสืบสวนคดี จัตวาลักษณ์ (The Sign of Four) หมอวัตสันได้รู้จักกับ มิสแมรี มอร์สแตนด์ ซึ่งเป็นเจ้าทุกข์ หลังเสร็จสิ้นคดี ทั้งสองได้แต่งงานกัน และหมอวัตสันย้ายออกจากห้องเช่า 221 บี ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมา เมื่อภรรยาเสียชีวิต หมอวัตสันจึงได้ย้ายกลับมาอยู่กับโฮลมส์อีกครั้ง
โฮลมส์และหมอวัตสันได้ร่วมสืบคดีด้วยกันเป็นเพื่อนคู่หู รวมคดีที่โฮลมส์สะสางทั้งสิ้นมากกว่าหนึ่งพันคดี บางปีโฮลมส์มีคดีมากมายจนทำไม่ทัน บางปีก็ว่างจนโฮลมส์ต้องหันไปพึ่งโคเคน ซึ่งเป็นนิสัยที่แย่เพียงอย่างเดียวของโฮลมส์ ช่วงปีที่โฮลมส์มีงานยุ่งที่สุดคือ ปี ค.ศ. 1894 - 1901 โฮลมส์มีโอกาสได้ถวายการรับใช้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 1895 เหตุการณ์นี้ปรากฏในตอน แผนผังเรือดำน้ำ (The Bruce-Partington Plan) ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 โฮลมส์มีโอกาสได้รับยศอัศวินแต่เขาปฏิเสธ
อย่างไรก็ดี หมอวัตสันก็ยังคงเป็นเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ และอยู่ร่วมในคดีสุดท้ายของโฮลมส์ในปี ค.ศ. 1914 ดังปรากฏในบันทึกตอน ลาโรง (His Last Bow) หลังจากคดีนี้แล้วก็ไม่มีบันทึกของหมอวัตสันปรากฏให้เห็นอีก จึงไม่มีใครรู้เลยว่า ชีวิตของคนทั้งสองหลังจากปี ค.ศ. 1914 ได้ดำเนินไปเช่นไร

[แก้]ลักษณะตัวละคร

หมอวัตสันกับเชอร์ล็อก โฮลมส์ ภาพวาดโดยซิดนี่ย์ แพเก็ต ในนิตยสารสแตรนด์

[แก้]นิสัยและบุคลิก

เชอร์ล็อก โฮลมส์ มีชื่อเต็มว่า วิลเลียม เชอร์ล็อก สก๊อต โฮลมส์ เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1854 มีนิสัยรักสันโดษ แต่ก็ยังไม่สันโดษเท่าพี่ชาย คือ ไมครอฟต์ โฮลมส์ ที่คอยช่วยเหลือเขาในบางคดี โฮลมส์มีรูปร่างสูง ผอม จมูกโด่งเป็นสันเหมือนเหยี่ยว มีความรู้รอบตัวในหลาย ๆ ด้านทั้ง เคมี ฟิสิกส์ และความรู้เกี่ยวกับพืชมีพิษตระกูลต่าง ๆ แต่เขาไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์เลย และเขายังเก่งเรื่องเล่นไวโอลิน
โฮลมส์มีอารมณ์แปลก ๆ บางครั้งก็เศร้าซึม พูดน้อย บางครั้งก็ร่าเริง หมอวัตสัน เพื่อนคู่หูของเชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้บรรยายถึงลักษณะต่าง ๆ ของโฮลมส์เอาไว้ในบันทึกคดีคราวต่าง ๆ กัน เช่น ในเวลาที่กำลังครุ่นคิดเรื่องคดี โฮลมส์จะไม่ทานข้าวเช้า (จาก ตอน ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์ (the Norwood Builder) ) โฮลมส์ชอบทำการทดลองเคมี แล้วทิ้งข้าวของในห้องกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ (จาก ตอน ปริศนาลายแทง (Musgrave Ritual) ) โฮลมส์สูบไปป์จัดมาก มักกลั่นแกล้งตำรวจโดยการให้ข้อมูลปลอมหรือปกปิดหลักฐานบางอย่าง แต่ก็มีความเป็นสุภาพบุรุษและให้เกียรติแก่สตรีอย่างสูง (จาก ตอน นายหน้าขู่กิน (Charles Augustus Milverton) ) แต่นิสัยที่หมอวัตสันเห็นว่าเลวร้ายและยอมรับไม่ได้เลย คือ การที่โฮลมส์ชอบเสพโคเคนกับมอร์ฟีน ซึ่งวัตสันเห็นว่าเป็นความชั่วประการเดียวที่โฮลมส์มี[6]
โฮลมส์ยังเป็นนักแสดงที่เก่งกาจ ดังปรากฏในตอน ซ้อนกล (the Dying Detective) และ จดหมายนัดพบ (the Reigate Squires) และตอนอื่น ๆ อีกหลายตอน เพื่อหันเหความสนใจของผู้ต้องสงสัย มิให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักฐานบางอย่าง ในตอน สัญญานาวี (the Naval Treaty) โฮลมส์ได้แสดงให้เห็นว่าเขาชื่นชมนักอาชญวิทยาชาวฝรั่งเศส คือ Alphonse Bertillon ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพื่อช่วยระบุตัวตนของอาชญากร นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า โฮลมส์เป็นนักอ่าน นักศึกษา มีความรู้ด้านอาชญวิทยาอย่างกว้างขวาง และให้ความนิยมนับถือบรรดานักสืบผู้ชำนาญเป็นอย่างมาก
แม้โฮลมส์จะชอบกลั่นแกล้งตำรวจ แต่เขาก็เป็นมิตรที่ดีของสก๊อตแลนด์ยาร์ดโดยเฉพาะสารวัตรเลสเตรด และมักยกความดีความชอบในคดีให้แก่ฝ่ายตำรวจอยู่เสมอ ในตอน สัญญานาวี โฮลมส์เคยบอกว่า ในบรรดาคดีที่เขาสะสาง 53 คดี เขายกความสำเร็จให้เพื่อนตำรวจไปเสีย 49 คดี คงมีแต่เพียงหมอวัตสันที่บรรยายถึงความสามารถของเขาผ่านทางบันทึกเท่านั้น
โฮลมส์มีศัตรูตัวฉกาจ ชื่อ ศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้ ศาสตราจารย์ผู้มีมันสมองปราดเปรื่องในด้านอาชญากรรม อีกทั้งยังเป็นตัวการเบื้องหลังในบางคดีที่เกิดขึ้นอีกด้วย คำพูดของโฮลมส์ที่ติดปากกันดี คือ "ถ้าเราตัดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ ไม่ว่ามันจะดูเหลือเชื่อเพียงใด แต่มันก็เป็นความจริง"

[แก้]ความรู้และทักษะ

โคนัน ดอยล์ ได้บรรยายถึงพื้นฐานการศึกษาและทักษะของโฮลมส์ไว้ในนิยายตอนแรก แรงพยาบาท ว่า เขาเคยเป็นนักศึกษาสาขาเคมี ที่มีความสนอกสนใจไปสารพัด โดยเฉพาะวิชาความรู้ที่สามารถช่วยเหลือในการคลี่คลายคดีอาชญากรรม บันทึกคดีแรกของโฮลมส์ที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร คือ เรือบรรทุกนักโทษ (Gloria Scott) ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ทำให้โฮลมส์หันมายึดถืออาชีพนักสืบ เขามักใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การสังเกตและการทดลอง มาใช้ประกอบในการพิจารณาคดีอาชญากรรมเสมอ แม้ว่าเขาจะชอบเก็บงำผลลัพธ์เอาไว้ และสร้างความประหลาดใจแก่ผู้อื่นโดยค่อย ๆ เผยปมของคดีให้ทราบทีละเล็กละน้อย
ในเรื่องยาว แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) หมอวัตสันเคยประเมินทักษะต่าง ๆ ของโฮล์มส์ไว้ ดังนี้
  1. ความรู้ด้านวรรณกรรม — น้อยมาก
  2. ความรู้ด้านปรัชญา — ไม่มี
  3. ความรู้ทางดาราศาสตร์ — ไม่มี
  4. ความรู้ด้านการเมือง — น้อยมาก
  5. ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ — ไม่แน่นอน ชำนาญพิเศษด้านพืชมีพิษและฝิ่น แต่ไม่รู้ด้านการทำสวน
  6. ความรู้ด้านธรณีวิทยา — ชำนาญ แต่มีข้อจำกัด สามารถบอกความแตกต่างระหว่างดินแต่ละชนิด เช่นหลังจากออกไปเดินเล่น สามารถระบุตำแหน่งที่ได้รับรอยเปื้อนดินบนกางเกงได้ว่ามาจากส่วนไหนของลอนดอน โดยดูจากสีและลักษณะของดิน
  7. ความรู้ด้านเคมี — ยอดเยี่ยม โฮลมส์ได้รับตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์จากสมาคมเคมีแห่งราชสำนักอังกฤษ
  8. ความรู้ด้านกายวิภาค — แม่นยำ แต่ไม่เป็นระบบ สันนิษฐานได้ว่ามาจากการศึกษาด้วยตนเอง
  9. ความรู้ด้านอาชญวิทยา — กว้างขวาง ดูเหมือนจะรู้จักเหตุสะเทือนขวัญอย่างละเอียดทุกเรื่องในรอบศตวรรษ
  10. เล่นไวโอลินได้ดีมาก และยังเป็นเจ้าของไวโอลินสตราดิวาเรียส อันมีชื่อเสียง
  11. เป็นนักมวยและนักดาบ
  12. มีความรู้กฎหมายอังกฤษเป็นอย่างดี
ในตอน ความลับที่หุบเขาบอสคูมบ์ (The Boscombe Valley Mystery) โฮลมส์ได้แสดงให้เห็นถึงความรู้เกี่ยวกับยาสูบเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในตอน รหัสตุ๊กตาเต้นรำ (The Dancing Man) โฮลมส์ได้แสดงถึงทักษะและไหวพริบในการถอดรหัส ส่วนความสามารถในการปลอมแปลงตัวของโฮลมส์ได้ใช้ประโยชน์หลายครั้ง เช่น การปลอมเป็นกะลาสีในตอน จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) เป็นนักบวชผู้ถ่อมตนใน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandle in Bohemie) เป็นคนติดยาใน ชายปากบิด (The Man with the Twisted Lip) เป็นพระชาวอิตาลีใน ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem) หรือแม้แต่ปลอมเป็นผู้หญิงในตอน เพชรมงกุฎ (The Mazarin Stone) เป็นต้น
อย่างไรก็ดี มีบางเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า หมอวัตสันประเมินโฮลมส์ผิดไปบ้าง เช่น เหตุการณ์ในตอน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย ซึ่งโฮลมส์สามารถตระหนักถึงความสำคัญของเคานท์ฟอนแครมได้ทันที หรือในหลาย ๆ คราวที่โฮลมส์มักเอ่ยอ้างถึงถ้อยคำในพระคัมภีร์ไบเบิล เชกสเปียร์ หรือเกอเธ่ แต่กระนั้น โฮลมส์กลับเคยบอกกับหมอวัตสันว่า เขาไม่สนใจเลยว่าโลกหรือดวงอาทิตย์จะหมุนรอบใครกันแน่ เพราะมันไม่มีประโยชน์ต่อการคลี่คลายคดีสักนิด
โฮลมส์มีความสามารถในการวิเคราะห์หลักฐานทางกายภาพอย่างถูกต้องแม่นยำ กระบวนการตรวจสอบหลักฐานของเขามีหลายกรรมวิธี เช่น การเก็บรอยรองเท้า รอยเท้าสัตว์ หรือรอยล้อรถจักรยาน เพื่อวิเคราะห์การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเกิดอาชญากรรม (เช่น ตอน แรงพยาบาท หรือ หมาผลาญตระกูล) หรือการวิเคราะห์ประเภทของยาสูบเพื่อระบุตัวตนของอาชญากร (เช่น ตอน จองเวร (The Resident Patient) หรือ หมาผลาญตระกูล) โฮลมส์เคยตรวจสอบร่องรอยผงดินปืน และเปรียบเทียบกระสุนที่พบในที่เกิดเหตุ ทำให้แยกแยะได้ว่าฆาตกรมีสองคน (จาก ตอน จดหมายนัดพบ และ บ้านร้าง (The Empty House) ) นอกจากนี้ โฮลมส์ยังเป็นคนแรก ๆ ที่มีแนวคิดในการตรวจสอบลายนิ้วมืออีกด้วย (จาก ตอน ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์)
ในช่วงปีหลัง ๆ ระหว่างที่โฮลมส์หยุดพักผ่อนที่ซัสเซกส์ดาวน์ (ในตอน รอยเปื้อนที่สอง (The Second Stain) ) เขาได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเพื่อบันทึกการสังเกตเรื่องวิถีชีวิตของผึ้ง ชื่อ "Practical Handbook of Bee Culture" นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนด้านวิชาการอื่น ๆ ของโฮลมส์อีกหลายเล่ม เช่น "Upon the Distinction Between the Ashes of the Various Tobaccos" (การแยกแยะรายละเอียดระหว่างขี้เถ้าของยาสูบชนิดต่างๆ) หรือ บทความสองเรื่องเกี่ยวกับ "หู" ที่ได้เผยแพร่ใน Anthropological Journal เป็นต้น

[แก้]ถิ่นที่อยู่

บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์
ตามท้องเรื่อง โฮลมส์และหมอวัตสันรู้จักกันครั้งแรก เนื่องจากต่างต้องการหาผู้ร่วมเช่าห้องพักอยู่ด้วยกันในกรุงลอนดอนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ห้องพักที่ทั้งสองเช่าเป็นบ้านของมิสซิสฮัดสัน ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ โดยพวกเขาเช่าพื้นที่ชั้นสองของบ้าน ส่วนมิสซิสฮัดสันอาศัยอยู่ชั้นล่าง และทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารเช้าให้พวกเขาด้วย หมอวัตสันเคยย้ายออกจากบ้านเช่านี้ไปเมื่อคราวแต่งงาน ทว่าหลังจากภริยาเสียชีวิต หมอวัตสันก็ย้ายกลับมาอยู่กับเชอร์ล็อก โฮลมส์อีก

[แก้]การงานอาชีพ

โฮลมส์ทำงานเพียงอย่างเดียว คือ เป็นนักสืบเชลยศักดิ์ หมายถึง เป็นนักสืบเอกชนที่ทำงานตามการว่าจ้างเป็นคราว ๆ ไป อย่างไรก็ดี มีหลายครั้งที่โฮลมส์ทำคดีเพื่อช่วยเหลือเพื่อนตำรวจที่สก๊อตแลนด์ยาร์ด หรือเพื่อความบันเทิงส่วนตัว ลูกค้าส่วนใหญ่ของโฮลมส์เป็นผู้มีสตางค์ โฮลมส์จึงได้รับค่าจ้างอย่างงามจนสามารถใช้ชีวิตอย่างสบาย หมอวัตสันเคยเล่าไว้ในตอน ซ้อนกล เมื่อตอนที่เขาย้ายออกไปจากบ้านเช่า และโฮลมส์อาศัยอยู่เพียงลำพังว่า เงินค่าเช่าที่โฮลมส์จ่ายมิสซิสฮัดสันนั้นมากพอจะซื้อตึกหลังนั้นได้เลยทีเดียว
ในตอน แผนผังเรือดำน้ำ โฮลมส์ได้รับของรางวัลจากการคลี่คลายคดีให้แก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นเข็มกลัดมรกต คราวหนึ่งเขาได้รับเหรียญทองคำเป็นที่ระลึกจากไอรีน อัดเลอร์ (ตอน เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย) อีกคราวหนึ่งในตอน โรงเรียนสำนักอธิการ (the Priory School) โฮลมส์ถึงกับถูมือด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่องเมื่อเห็นตัวเลขในเช็คที่ท่านดยุคสั่งจ่าย ที่หมอวัตสันเองยังตื่นเต้นตกใจ แต่แล้วโฮลมส์ก็ตบเช็คใบนั้นแล้วร้องว่า "ยากจนกันจริงหนอ"

[แก้]ครอบครัว และความรัก

โฮลมส์มีพี่ชายหนึ่งคน คือ ไมครอฟต์ โฮลมส์ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นเกี่ยวกับครอบครัวของเขา นอกจากในเรื่องสั้นตอน ล่ามภาษากรีก ซึ่งโฮลมส์เอ่ยถึงย่าของตนว่าเป็นน้องสาวของเวอร์เน่ต์(Vernet) ศิลปินชาวฝรั่งเศส โฮลมส์ไม่ได้แต่งงาน แต่เชื่อว่าเขาเคยมีความรักกับสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดเหตุที่ทำให้ทั้งสองไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และโฮลมส์ไม่เคยสนใจผู้หญิงคนไหนอีกเลย หญิงสาวในความทรงจำของโฮลมส์ผู้นั้นมีชื่อว่า ไอรีน อัดเลอร์

[แก้]การตีพิมพ์และการแปล

เชอร์ล็อก โฮลมส์ ฉบับแปลไทยครั้งแรก
เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในหนังสือพิมพ์ Beeton's Christmas Annual ค.ศ. 1887 โดยตอนแรกที่พิมพ์ คือ แรงพยาบาท หลังจากนั้น จึงได้ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารสแตรนด์ ปี ค.ศ. 1892 เรื่องสั้นที่โคนัน ดอยล์ เขียนลงในสแตรนด์ ได้นำมาพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์ George Newnes ใช้ชื่อหนังสือว่า "The Adventures of Sherlock Holmes" ต่อมา ฉบับรวมเล่มนี้ได้ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา โดยสำนักพิมพ์ Harper & Brothers กรุงนิวยอร์ก ปี ค.ศ. 1892 เช่นเดียวกัน
เชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 60 ภาษา และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ปี ค.ศ. 2004 เชอร์ล็อก โฮลมส์ ได้วางจำหน่ายเป็นหนังสือชุดพิเศษสำหรับนักสะสม ในโอกาสครบรอบวันเกิด 150 ปีของโฮลมส์
สำหรับประเทศไทย มีการแปลเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ เป็นภาษาไทยครั้งแรก โดย หลวงสารานุประพันธ์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารสารานุกูล ในช่วงปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)  ต่อมา อ. สายสุวรรณ แปลต้นฉบับเชอร์ล็อก โฮลมส์ จนครบทุกตอนทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวเป็นคนแรก ปี พ.ศ. 2535 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า นำผลงานแปลของ อ. สายสุวรรณ มาจัดพิมพ์ใหม่ทั้งชุด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ ได้นำเรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ มาแปลใหม่อีกครั้งทั้งชุดโดย มิ่งขวัญ แต่ใช้สำนวนแปลและชื่อเรื่องที่ต่างออกไป อย่างไรก็ดี ชุดที่ได้รับการกล่าวขวัญในหมู่นักอ่านว่าดีที่สุด คือ ชุดแปลของ อ. สายสุวรรณ ในปี พ.ศ. 2552 แพรวสำนักพิมพ์ ได้รวบรวม เชอร์ล็อก โฮลมส์ สำนวนแปลของอ. สายสุวรรณ มาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

รายชื่อผลงานในชุด

ชื่อภาษาไทยของผลงานชุดนี้ในที่นี้ เป็นสำนวนแปลของ อ. สายสุวรรณ

[แก้]ชุดเรื่องยาว 4 เรื่อง

[แก้]ชุดเรื่องสั้น

แต่เดิมลงพิมพ์เป็นตอน ต่อมามีการรวมเล่มเป็นห้าชุด ได้แก่
ชุด "ผจญภัย" (The Adventures of Sherlock Holmes)
  1. เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandle in Bohemie)
  2. คู่หมั้นจำแลง (A Case of Identity)
  3. ความลับที่หุบเขาบอสคูมบ์ (A Boscombe Valley Mystery)
  4. เมล็ดส้มห้าเมล็ด (Five Orange Pips)
  5. ชายปากบิด (The Man with the Twisted Lip)
  6. สันนิบาตผมแดง (The Red-Headed League)
  1. ทับทิมสีฟ้า (The Blue Carbuncle)
  2. นิ้วหัวแม่มือของวิศวกร (The Engineer's Thumb)
  3. ห่วงแต้ม (The Speckled Band)
  4. พ่อหม้ายบรรดาศักดิ์ (The Noble Bachelor)
  5. มงกุฎเพชรมรกต (The Beryl coronet)
  6. คฤหาสน์อุบาทว์ (The Copper Beeches)
ชุด "จดหมายเหตุ" (The Memoirs of Sherlock Holmes)
  1. ม้าตัวเก็งหาย (Silver Blaze)
  2. หน้าเหลือง (The Yellow Face)
  3. อุบายสับตัว (The Stockbrocker's Clerk)
  4. เรือบรรทุกนักโทษ (The Gloria Scott)
  5. ปริศนาลายแทง (The Musgrave Ritual)
  6. จดหมายนัดพบ (The Reigate Squires)
  1. ชายหลังค่อม (The Crooked Man)
  2. จองเวร (The Resident Patient)
  3. ล่ามภาษากรีก (The Greek Interpreter)
  4. สัญญานาวี (The Naval Treaty)
  5. ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem)
ชุด "คืนชีพ" (The Return of Sherlock Holmes)
  1. บ้านร้าง (The Empty House)
  2. ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์ (The Norwood Builder)
  3. รหัสตุ๊กตาเต้นรำ (The Dancing Man)
  4. นักจักรยานผู้เดียวดาย (The Solitary Cyclist)
  5. โรงเรียนสำนักอธิการ (The Priory School)
  6. ปีเตอร์ดำ (Black Peter)
  7. นายหน้าขู่กิน (Charles Augustur Milverton)
  1. อาฆาตนโปเลียน (The Six Napoleons)
  2. สามนิสิต (The Three Students)
  3. แว่นตากรอบทอง (The Golden Pince-Nez)
  4. นักรักบี้หาย (The Missing Three-Qarter)
  5. ชู้รักของเลดี้ (The Abbey Grange)
  6. รอยเปื้อนที่สอง (The Second Stain)
ชุด "ลาโรง" (His Last Bow)
  1. จอมบงการใจทมิฬ (Wisteria Lodge)
  2. ตามพิฆาต (The Cardboard Box)
  3. วงแดง (The Red Circle)
  4. แผนผังเรือดำน้ำ (The Bruce-Partington Plan)
  1. ซ้อนกล (The Dying Detective)
  2. โลงศพต่อพิเศษ (The Disappearance of Lady Frances Carfax)
  3. ตีนผี (The Devil's Foot)
  4. เชอร์ล็อก โฮลมส์ ลาโรง (His Last Bow)
ชุด "บันทึกคดี" (The Case-Book of Sherlock Holmes)
  1. พรานพิศวาส (The Illustrious Client)
  2. ทหารขี้ทูด (The Blanched Soldier)
  3. เพชรมงกุฎ (The Mazarin Stone)
  4. ความจริงในนิยาย (The Three Gables)
  5. ผีดิบอาละวาด (The Sussex Vampire)
  6. พินัยกรรมประหลาด (The Three Garridebs)
  1. สะพานมรณะ (Thor Bridge)
  2. คนลิง (The Creeping Man)
  3. ขนคอสิงห์ (The Lion's Mane)
  4. สุสานร้าง (The Shoscombe Old Place)
  5. หญิงคลุมหน้า (The Veiled Lodger)
  6. หึงสาอาฆาต (The Retired Colourman)ความนิยม และอิทธิพลต่องานอื่น

[แก้]ความนิยมในประเทศอังกฤษ

เรื่องสั้น เชอร์ล็อก โฮลมส์ ที่ลงพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่า เชอร์ล็อก โฮลมส์ มีตัวตนจริง และพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ จดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง กล่าวกันว่า โคนัน ดอยล์ มีรายได้จากนวนิยายเรื่องนี้มากกว่างานประจำของเขาเสียอีก
ปี ค.ศ. 1893 เมื่อโคนัน ดอยล์ เริ่มคิดพล็อตนิยายได้ยากขึ้น และต้องการจะหันไปทุ่มเทกับงานเขียนด้านอื่นที่เขาเห็นว่ามีคุณค่ามากกว่า เขาได้เขียนเรื่องสั้นตอน ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem) ให้เชอร์ล็อก โฮลมส์ พ่ายแพ้ในการต่อสู้กับศาสตราจารย์เจมส์ มอริอาร์ตี้และพลัดตกเหวไป เพื่อจบบทบาทของเชอร์ล็อก โฮลมส์เสีย ผลปรากฏว่า ผู้อ่านพากันต่อว่าต่อขานโคนัน ดอยล์ อย่างเคียดแค้น สมาชิกนิตยสารสแตรนด์ บอกยกเลิกสมาชิกภาพถึงกว่าสองหมื่นคน บางคนถึงกับไว้ทุกข์ให้แก่เชอร์ล็อก โฮลมส์ มีจดหมายจำนวนมากส่งไปถึงโคนัน ดอยล์ เพื่อเค้นถามข้อเท็จจริงว่า โฮลมส์ตกเหวไปแล้วตายจริงหรือเปล่า จนในที่สุดโคนัน ดอยล์ ทนไม่ไหว จึงปล่อยเรื่องยาว หมาผลาญตระกูลออกมาในปี ค.ศ. 1901 ทำให้ผู้อ่านตื่นเต้นยินดีมาก แต่ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะเหตุการณ์ในเรื่อง หมาผลาญตระกูล เป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับศาสตราจารย์มอริอาตี้ ข้อกังขาว่าโฮลมส์ตกเหวแล้วตายหรือไม่ จึงยังมิได้ไขกระจ่าง
ในที่สุด โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่องสั้นชุด "คืนชีพ" (The Return of Sherlock Holmes) ในปี ค.ศ. 1903 เป็นการตอบคำถามว่า เชอร์ล็อก โฮลมส์ ยังไม่ตาย หลังจากนั้น เขาก็แต่งเรื่องยาวและเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง
ในปี ค.ศ. 2002 สมาคมเคมีแห่งราชสำนักอังกฤษ ได้มอบตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ (Extraordinary Honourary Fellowship) ให้แก่ เชอร์ล็อก โฮลมส์ ในฐานะนักสืบคนแรกที่นำศาสตร์ทางเคมีไปประยุกต์ใช้กับงานสืบสวน ในโอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีการคลี่คลายคดี หมาผลาญตระกูล และครบรอบหนึ่งร้อยปีการรับบรรดาศักดิ์อัศวินของเซอร์ อาเธอร์ โคนัน ดอยล์
ปี ค.ศ. 2007 หนังสือพิมพ์ Beeton's Christmas Annual 1887 ซึ่งตีพิมพ์เรื่อง เชอร์ล็อก โฮลมส์ ตอนแรกสุด ได้รับประมูลไปในราคา 156,000 เหรียญสหรัฐ

[แก้]หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Dakin, David (1972). A Sherlock Holmes Commentary. Newton Abbot: David & Charles. ISBN 0715354930.
  • Hall, Trevor (1969). Sherlock Holmes: Ten Literary Studies. London: Duckworth. ISBN 0715604694.
  • Keating, H. R. F. (2006). Sherlock Holmes: The Man and His World. Edison, NJ: Castle. ISBN 0785821120.
  • Klinger, Leslie (2005). The New Annotated Sherlock Holmes. New York: W.W. Norton. ISBN 0393059162.
  • Klinger, Leslie (1998). The Sherlock Holmes Reference Library. Indianapolis: Gasogene Books. ISBN 0938501267.
  • Riley, Dick (2005). The Bedside Companion to Sherlock Holmes. New York: Barnes & Noble Books. ISBN 0760771561.
  • Roy, Pinaki (2008). The Manichean Investigators: A Postcolonial and Cultural Rereading of the Sherlock Holmes and Byomkesh Bakshi Stories. New Delhi: Sarup and Sons. ISBN 9788176258494.